เมนู

ยนต์ที่มีหม้อผูกติดกับซี่ เรียกว่า กังหัน.
ภาชนะที่ทำด้วยหนัง ซึ่งจะพึงผูกติดกับคันโพงหรือระหัด ชื่อว่า
ท่อนหนัง.
สองบทว่า ปากฏา โหติ มีความว่า บ่อน้ำครำ เป็นที่ไม่ได้ล้อม.
บทว่า อุทกปุญฺฉนี มีความว่า เครื่องเช็ดน้ำ ทำด้วยงาก็ดี ทำ
ด้วยเขาก็ดี ทำด้วยไม้ก็ดี ย่อมควร. เมื่อเครื่องเช็ดน้ำนั้นไม่มี จะใช้ผ้าซับน้ำ
ก็ควร.
บทว่า อุทกมาติกํ ได้แก่ ลํารางสำหรับน้ำไหล.
เรือนไฟที่ติดปั่นลมโดยรอบ เรียกชื่อว่า เรือนไฟไม่มีรอยมุง.
คำว่า เรือนไฟไม่มีรอยมุงนั้น เป็นชื่อแห่งเรือนไฟที่มีหลังคาทำเป็น
ยอด ติดปั่นลมที่มณฑลช่อฟ้าบนกลอนทั้งหลาย.
สองบทว่า จาตุมฺมาสํ นิสีทเนน มีความว่า ภิกษุไม่พึงอยู่ปราศ
จากผ้านิสีทนะตลอด 4 เดือน.
บทว่า ปุปฺผาภิกิณฺเณสุ มีความว่า ภิกษุไม่พึงนอนบนที่นอนที่
เขาประดับด้วยดอกไม้.
บทว่า นมตกํ มีความว่า เครื่องปูนั่งคล้ายสันถัตที่ทำ คือทอด้วย
ขนเจียม พึงใช้สอย โดยบริหารไว้อย่างท่อนหนัง.

[ว่าด้วยการฉัน ]


ชื่อว่า อาสิตฺตกูปธานํ นั้น เป็นคำเรียก ลุ้ง ที่ทำด้วยทองแดง
หรือด้วยเงิน. อนึ่ง ลุ้งนั้น แม้ทำด้วยไม้ ก็ไม่ควร เพราะเป็นของที่ทรง
ห้ามแล้ว .
เครื่องรองทำด้วยไม้ทั้งท่อน เรียกว่า โตก. แม้เครื่องรองที่ทำด้วยใบ
กระเช้าและตะกร้า ก็นับเข้าในโตกนี้เหมือนกัน.

[345] จริงอยู่ วัตถุมีไม้เส้าเป็นต้นนั้น จำเดิมแต่ที่ถึงความรวมลง
ว่าเป็นเครื่องรอง มีช่องเจาะไว้ข้างในก็ตาม เจาะไว้โดยรอบก็ตาม ควร
เหมือนกัน.
วินิจฉัยในคำว่า เอกภาชเน นี้ พึงทราบดังนี้ :-
หากว่า ภิกษุรูปหนึ่งถือเอาผลไม้ หรือขนมจากภาชนะไป, ครั้นเมื่อ
ภิกษุนั้นหลีกไปแล้ว การที่ภิกษุนอกนี้จะฉันผลไม้หรือขนมที่ยังเหลือ ย่อม
ควร. แม้ภิกษุนอกจากนี้ จะถือเอาอีกในขณะนั้นก็ควร.

[ว่าด้วยการคว่ำบาตร]


วินิจฉัยในคำว่า อฏฺฐหงฺเคหิ นี้พึงทราบดังนี้:-
การที่สงฆ์คว่ำบาตรในภายในสีมา หรือไปสู่ภายนอกสีมาคว่ำบาตรใน
ที่ทั้งหลายมีแม่น้ำเป็น แก่อุบาสกผู้ประกอบแม้ด้วยองค์อันหนึ่ง ๆ ย่อมควรทั้ง
นั้น.
ก็แล เมื่อบาตรอันสงฆ์คว่ำแล้วอย่างนั้น ไทยธรรมไร ๆ ในเรือน
ของอุบาสกนั้น อันภิกษุทั้งหลายไม่พึงรับ. พึงส่งข่าวไปในวัดแม้เหล่าอื่นว่า
ท่านทั้งหลายอย่ารับภิกษา ในเรือนของอุบาสกโน้น
ก็ในการที่จะหงายบาตร ต้องให้อุบาสกนั้น ขอเพียงครั้งที่ 3 ให้
อุบายสกนั้นละหัตถบาสแล้ว หงายบาตรด้วยญัตติทุติยกรรม.

[เรื่องโพธิราชกุมาร]


สองบทว่า ปุรกฺขิตฺวา ได้แก่ จัดไว้โดยความเป็นยอด.
บทว่า สํหรนฺตุ มีความว่า ผ้าทั้งหลายอันท่านจงม้วนเสีย.
บทว่า เจฬปฏิกํ ได้แก่ เครื่องปูลาด คือ ผ้า